ผู้ชมเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556









ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
          ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ความหมายโดยทั่วไป
          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
          1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
          2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
          3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ

ความหมายตามกฎหมาย
          ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความ
ถึง ยาสำคัญประจำบ้านบางตำรับตามที่กฎหมายว่าด้วยยาที่มี ยาเสพติดให้โทษผสมอย
·      ประวัติความเป็นมาของยาเสพติด(Historical Background)

ในประเทศไทย
          ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้   มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน  บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ  บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิด
ต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ

          ฝิ่น
          ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด  เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก  เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร
ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปี
ล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้   ได้บัญญัติการห้ามซื้อ  ขาย  เสพฝิ่นไว้ว่า  "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น  ให้ลงพระราชอาญาจง
หนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง  ทเวนบกสามวัน  ทเวนเรือสามวัน  ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบน
แก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว  จึงให้ปล่อยผู้สูบ  ขาย  กินฝิ่น  ออกจากโทษ"   แม้ว่าบทลงโทษจะสูง  แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น
ก็ยังมีต่อมาโดยตลอด   กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น   ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มี
การเข้มงวดกวดขัน   ซึ่ง ปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น  และ  ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย   เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหา
การขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา

         ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย  ผู้สูบฝิ่น
แต่ก็ยังไม่มีผล   ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีก   โดย
        "ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น   กินฝิ่น   ซื้อฝิ่นขายฝิ่น  และ เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้อง
พิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา  เฆี่ยน 3 ยก  ทเวนบก 3 วัน  ทเวนเรือ 3 วัน  ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา  และ ทรัพย์สิ่งของ
ให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที"

         ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย
ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น  และ ในช่วงเวลานั้น   ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น   จึงเป็นการนำ
การใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย  ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ  มาก จึงเป็นเหตุให้
การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382  ทำให้การค้าฝิ่น
และสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ  และหัวเมืองชายทะเล  สร้างความวุ่นวายจากการ
ทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม


          ในสมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบ และ
ขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น  จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้อง
เสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น"  ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท  สูงเป็น
อันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่

          ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการ
สังคม และเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็น
การสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย  จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37  ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501
ให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร  และ กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้
          1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501
          2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
          3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
          4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
          5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น  

ประเภทของยาเสพติด


          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          ๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          ๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
          ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

๒. แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น
          ๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น

๓. แบ่งตามกฎหมาย
          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่ น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น
ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง และอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด
ถ้าท่านเป็นวัยรุ่นที่เลือกหัวข้อนี้ ขอบอกทันทีเลยว่า ท่านคือส่วนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา ไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะเสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาป้องกันปัญหายาเสพติด ท่านทราบดีอยู่แล้วว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายในการหลบ หลีกเลี่ยงการลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ท่านสามารถที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง ท่านมีปอดและระบบทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใด ไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูดกับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่า ชั่วชีวิตนี้ท่านจะไม่ยอมติดยาเสพติดเป็นอันขาด
          ในโลกนี้มีสิ่งที่งดงามสนุกสนานอีกมากมาย ที่ท่านสามารถกระทำได้ โดยไม่ก่อให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่าน ท่านทราบดีอยู่แล้วถึงพิษภัยของของยาเสพติด เอ๊ะแล้วทำไมเพื่อนรักของท่านมาชวนท่านเสพยาเสพติด เพื่อนหวังดีกับท่านจริงหรือ  เพื่อนมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในใจหรือเปล่า  เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านควรทำตามหรือไม่ เพื่อนอยู่ในวงจรอุบาทว์ที่ท่านควรคิดช่วยเขา แทนที่เพื่อนจะมาชวนท่านเสพ แล้วฉุดท่านเข้าไปอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้นด้วย มันถูกต้องหรือนี่  การเล่นกีฬา
เล่นดนตรี ร้องรำทำเพลง เที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนาน วาดรูป เล่นเกมต่างๆ ท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอีกมากมายที่จะนำความสุขมาสู่ตัวท่าน ท่านต้องรักตัวท่าน ท่านต้องไม่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของท่านเสียใจ โปรดเชื่อเถิดว่า เสพยาเสพติดไม่นานเกิน 1 ปีหรอก ร่างกายของท่านจะตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถ้าท่านอยู่ในภาวะที่เศร้าโศกเสียใจและยังแก้ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้ ยาเสพติดไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาของท่านอย่างแน่นอน ขอให้คิดให้ดีและขอให้ท่านโชคดีแก้ปัญหาให้ได้
มีคลิปวีดีโอมาฝากทุกท่าน เป็นคลิปเพลงแล่นอีสานเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งท้ายกันตรงนี้











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น